วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

อวสานหงสา..พระเจ้านันทบุเรง


                ในหนัง หรือในพระราชพงศวดาร ของแต่ละฝั่งย่อมมีความใกล้เคียงและแตกต่าง ตามข้อมูลที่มีการบันทึกไว้หรือสืบทอดกันมา หลังจากที่นายอยากเล่าได้เขียนไว้ในตอนที่แล้ว แล้วรู้สึกยังตกค้างในใจ กับคำพูดของพระเจ้านันทบุเรง  (ในเรื่อง) จึงยังไม่สามารถไปต่อได้ถ้ายังติดข้างอยู่...
                ในฉากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีโอกาสบุกเข้าไปเพื่อหวังสังหาร พระเจ้านันทบุเรง ในปราสาททองเมืองตองอูเพื่อดับแค้นนั้น เมื่อจวนตัว ไม่ว่าด้วยเหตุผลของการเพื่อรักษาชีวิต หรือเพื่อกระตุ้นเตือนสติของพระนเรศก็แล้วแต่  แต่สามารถทำให้พระนเรศที่ยกกองทัพมาจากอโยธยา เหยียบหงสา บุกทะลวงตองอู เพื่อหวังสังหารพระเจ้านันทบุเรง หวังเพื่อดับแค้น ต้องลาศึกยกทัพกลับนั้น ย่อมมีนัยสำคัญที่ต้องตีความ "หากเจ้าจะสังหารข้า  ก็รีบลงมือ เจ้าจะได้เป็นจักรพรรดิเช่นข้า"
                 ในมุมของนายอยากเล่านั้นจบแล้ว  ส่วนท่านละครับ.....
                 เพิ่มเติมในบรรดาสามมหาราชแห่งพม่า ประกอบด้วย
                 1. พระเจ้าอโนรธามังช่อ ปฐมกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์พุกาม ผู้ก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ชเวซีโกน แห่งเมืองพุกาม  สวรรณคตด้วยอุบัติเหตุขณะออกล่าสัตว์
                 2. พระเจ้าบุเรงนอง คนไทยรู้จักในพระนาม "พระเจ้าชนะสิบทิศ" สิ้นพระชนม์ด้วยอาการพระประชวร ขณะยกทัพไปตียะไข่
                 3. พระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบอง ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ผู้ทรงก่อตั้งเมืองย่างกุ้ง สวรรคตจากอาการพระประชวรระหว่างยกทัพไปรุกรานอาณาจักรอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์
                 อย่างว่าละครับในพระราชพงศวดาร ของไทยก็จะมีบันทึกที่แตกต่างกันไปบ้างครับ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น