วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

นารูโตะกับการบริหารทีมงาน (Team Management)


ขอบคุณภาพจาก 
http://cartoon.mthai.com/japan-cartoon/39785.html

              ห่างหายจากการอัพ Content ในเพจ https://www.facebook.com/deepandfin นี้พอสมควร ไม่ใช่ว่าไม่มีเรื่องราวนะครับ แต่ไป ทดลองอะไรบางอย่างในการอัพลงเพจ อื่น ๆ ภายใต้ นาย Prince of Galapagos ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "จงอย่าเชื่อเพราะว่าผู้พูดเป็นใคร แม้แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเอง แต่จงเชื่อในสิ่งที่เป็นจริง (ถ้ายังไม่จริงหรือข้อมูลไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์..จงอย่าสรุป) " นั่นหมายถึงหลักธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอน ต้อง ปฏิบัติครับถึงจะรู้ว่าจริงหรือไม่....
             เกริ่นมานี่ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับหัวข้อ  เพราะนายอยากเล่า...(เพราะชีวิตมันหลายหลาก เรื่องเล่าจึงหลากหลาย) คิดมานานนะครับว่าหัวข้อดังกล่าวสัมพันธ์กับหลายเพจ ถ้าจะลงในเพจอยากเล่าเอง โทนของเรื่องน่าจะโดดไปหน่อย เลยเอาแกนตัวแปลต้น เป็นหลักครับมาสัมพันธ์กับเรื่องใดมากที่สุด
             เข้าเรื่องนะครับ ยุคนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก NARUTO การ์ตูนนินจายอดฮิตถล่มทลาย แว่ว ๆ มาว่าจะจบละ ประเด็นที่จะพูดถึงอ้างอิงต่อเนื่องจาก “เพราะอุดมศึกษา หมายถึง 1 คำถาม แต่มีได้หลายคำตอบ” http://princeofgalapagos.blogspot.com/2015/03/1_17.html  ว่าในงานดังกล่าวมีประเด็นน่าสนใจในหลาย ๆ เรื่อง ที่ท่านอาจารย์ ธนิตสรณ์  จิระพรชัย รองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้หยิบยกมาเป็นตัวอย่าง ท่า่นกล่าวว่า "ท่านมีลูกที่ชอบดูการ์ตูน และชอบซื้อ DVD มาดู และเรื่องนี้ ลูกท่านเลิกดู เพราะรอตอนใหม่ แต่ท่านดูต่อและได้ประเด็นต่อเนื่องคร่าว ๆ  ดังนี้...."
            ท่านมองย้อนไปถึงการ์ตูนของประเทศญี่ปุ่นหลาย ๆ เรื่อง และความเป็นระเบียบ รักชาติ รักพวกพ้อง และความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ทำให้เข้าใจว่า การ์ตูนแต่ละเรื่องที่ญี่ปุ่นสร้างจนกลายเป็นวัฒนธรรม ของชาติไปแล้ว แฝงไปด้วยการสอนคนและสร้างคน ชาตินิยม และการรักในพวกพ้อง ผ่านตัวการ์ตูนและเรื่องราวต่าง ๆ โดยเฉพาะการ์ตูนเรื่องดัง NARUTO  ที่ชัดเจนและหยิบยกมาเล่า คือ การบริหารทีมงานให้มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ในเรื่องนารูโตะ จะแบ่งนินจาเป็นหลายระดับ ตั้งแต่ เกะนิน โจนิน โฮคาเงะ (ประมาณ CEO)  ในเกะนินก็จะมีหลายประเภท   ส่วนการเป็นโจนินต้องสอบเพื่อวัดภาวะผู้นำและศักยภาพในการบริการคน (ใช้ความสามารถไม่ใช่อาวุโส) ส่วนโฮคาเงะ (ประสบการณ์+ความสามารถ+การยอมรับ)
           ประเด็นของเรื่องคือ เวลามีภาระกิจ จะมีทีมไปที่เหมาะสมไปปฏิบัติหน้าที่ (โฮคาเงะเป็นผู้พิจารณาเลือก) ส่วนภายในทีมประกอบด้วยเกะนิน 3 คนที่ทำหน้าที่ต่างกัน (ซึ่งต้องมีความสามารถที่ต่างกันและหนึ่งในนั้นต้องมีเกะนินที่มีความสามารถในการรักษาพยาบาล) โดยมีโจนิน (หัวหน้าทีม)เป็นผู้กำกับดูแล ถ้าหากมีภาระกิจที่พิเศษ ท่านโฮคาเงะก็จะพิจารณาให้ รวมทีม ขยายทีมให้เหมาะสมกับภาระกิจ... Team Management ชัด ๆ  ขอบคุณครับท่านโฮคาเงะ.....นับถือ ๆ
           เพิ่มเติมนิดนึงนะครับ .....ท่านโฮคาเงะท่านนี้พูด Content กรอบใหญ่...(ไม่บอกครับ) เดิม ๆ มา 10 กว่าปีแล้วครับ  และยังเดินสายถ่ายทอดวรยุทธ์ต่อไป  ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น